Mitrapap

 ThinClient เครื่องลูกไม่ต้องมีัฮาร์ดดิสก์ ด้วย Ubuntu

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loongmit&month=11-2009&date=23&group=10&gblog=15

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loongmit&month=12-2009&date=06&group=10&gblog=16


Server

- ติดตั้งการ์ดแลนไว้ 2 ใบ (ออนบอร์ดอยู่แล้ว 1 ใบ ติดตั้งเพิ่มอีก 1 ใบ)

- ถ้าใช้แผ่นติดตั้งแบบ Alternate เช่น ubuntu 9.04 alternate หรือ ubuntu 9.10 alternate ขณะเริ่มติดตั้ง ให้กด F4 เพื่อเลือกการติดตั้งแบบ LTSP ได้เลย

แต่ในที่นี้ ต้องการให้รองรับภาษาไทย จึงใช้ Ubuntu 9.07 Prompt Edition จากเว็บ //www.ubuntuclub.com/ ที่ได้ปรับแต่งให้ใช้งานได้เป็นอย่างดีแล้ว จากนั้นก็ดำเนินการต่อไปนี้


ติดตั้ง Ubuntu 9.07 Prompt Edition ในแบบภาษาไทยให้เรียบร้อย


เพิ่ม User ที่ต้องการใช้งาน (สามารถเพิ่มได้ในภายหลัง)


ตั้งค่าให้การ์ดแลน โดยสั่ง

nano /etc/network/interfaces

จากนั้นเพิ่มคำสั่งในไฟล์นี้ให้เป็น


# The loopback network interface

auto lo

iface lo inet loopback


# The primary network interface --this goes to the internet.

auto eth0

iface eth0 inet static

address 192.168.64.105 #ไอพีหลัก ที่เครื่องแม่ Ubuntu 9.07PE

network 192.168.64.0

broadcast 192.168.64.255

netmask 255.255.255.0

gateway 192.168.64.100 #ไอพีเร้าท์เตอร์ต่อเน็ต


# This interfaces is where DHCP will be served.

auto eth1

iface eth1 inet static

address 192.168.0.105 #ไอพี สำหรับ LTSP เครื่องแม่เช่นเดียวกัน

network 192.168.0.0

broadcast 192.168.0.255

netmask 255.255.255.0

จากนั้นกด Ctrl+x ตอบ y แล้ว enter เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง


พิมพ์คำสั่ง

nano /etc/resolv.conf

แล้วแก้ไขคำสั่งในไฟล์ให้เป็น

nameserver 192.168.64.100

เป็นการชี้ไปที่เร้าท์เตอร์/โมเด็ม เพื่อให้เครื่องแม่สามารถเข้าเน็ตได้

จากนั้นกด Ctrl+x ตอบ y แล้ว enter เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง


รีเครื่อง 1 ครั้ง เมื่อรีเครื่องกลับมาแล้ว ให้ทดสอบการเข้าอินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยก่อน ถ้ายังไม่ได้ ให้ทบทวนและหาข้อผิดพลาดให้พบ เพราะในขั้นตอนต่อไป จะต้องมีการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆค่อนข้างมากและนาน


ติดตั้ง LTSP โดยสั่ง

aptitude install ltsp-server-standalone


ติดตั้ง openssh โดยสั่ง

aptitude install openssh-server


สร้างข้อกำหนดต่างๆให้เครื่อลูกของ LTSP โดยสั่ง

ltsp-build-client

คำสั่งนี้ต้องสังเกตด้วยว่า การดึงไฟล์ต่างๆจากเน็ตนั้นสำเร็จหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องเปลี่ยนแหล่งดาวน์โหลดใหม่ เพราะจะมีการดึงไฟล์ต่างๆเป็นจำนวนมากและใช้เวลานาน


ตรวจสอบว่าการ์ดที่จะให้เป็นการ์ดหลักของ LTSP ถูกต้องหรือไม่ โดยสั่ง

nano /etc/default/dhcp3-server

ดูที่บรรทัดนี้

INTERFACES="eth1"


พิมพ์คำสั่ง

nano /etc/ltsp/dhcpd.conf

ได้แก้ไขค่าในไฟล์ตามเงื่อนไขตามนี้

#------------------------------------------

#

authoritative;

#

#------------------------------------------

# For Fix IP

# สำหรับเครื่องที่ต้องการ FIX IP เพราะต้องใช้เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งอยู่

# ต้องหาเลข mac address ของเครื่องลูก แล้วกำหนดไอพีที่ต้องการ

#------------------------------------------

host local01 {

hardware ethernet 00:0C:29:66:4D:39; #mac address

fixed-address 192.168.0.1; #Fix Client IP

filename "/ltsp/i386/pxelinux.0";

}

host local02 {

hardware ethernet 00:0C:29:FB:AB:EF;

fixed-address 192.168.0.2;

filename "/ltsp/i386/pxelinux.0";

}

#-------------------------------------------

# For DHCP

# แจกไอพี สำหรับเครื่องนอกเหนือจากข้างบน

# ควรกำหนด range ให้เลยชุดที่ Fix ip ไว้ก่อน

#-------------------------------------------

subnet 192.168.0.0 netmask 255.255.255.0 {

range 192.168.0.20 192.168.0.250;

option domain-name "example.com";

option domain-name-servers 192.168.0.1;

option broadcast-address 192.168.0.255;

option routers 192.168.0.1;

# next-server 192.168.0.1;

# get-lease-hostnames true;

option subnet-mask 255.255.255.0;

option root-path "/opt/ltsp/i386";

if substring( option vendor-class-identifier, 0, 9 ) = "PXEClient" {

filename "/ltsp/i386/pxelinux.0";

} else {

filename "/ltsp/i386/nbi.img";

}

}


*** ระวังเครื่องหมายปีกกา ให้ครบถ้วนเป็นคู่ๆไป

*** ถ้ามีการแก้ไขภายหลัง ให้สั่ง


/etc/init.d/dhcp3-server restart


เพื่ออัพเดทข้อมูลใหม่ด้วย

*** จริงๆแล้ว ควรทดลองทำงานกับค่ามาตรฐานก่อน ซึ่งจะเป็นการแจกไอพีอัตโนมัติ เมื่อทำงานมาตรฐานได้แล้ว จึงค่อยมาทำระบบกำหนดไอพี ***


คัดลอก /opt/ltsp/i386/etc/lts.conf มาไว้ที่ /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf โดยสั่ง

cp /opt/ltsp/i386/etc/lts.conf /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf

(ทำไมไม่เอาไว้ให้ถูกที่ซะตั้งแต่แรกก็ไม่รู้เหมือนกัน)

จากนั้นพิมพ์

nano /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf

ส่วนนี้เป็นค่ามาตรฐานต่างๆ


[default]

X_COLOR_DEPTH=16 #8, 16, 24(default)

LOCALDEV=True

SOUND=True

XSERVER = vesa #normal monitor


#---------------------

#LDM_AUTOLOGIN = True #ถ้าตั้งค่านี้ไว้ (เอา # ข้างหน้าออกก่อน) จะสามารถล็อคอินอัตโนมัติได้ ด้วยการกำหนดไอพี หรือ แมค ข้างล่างนี้ หรือจะเอาไปไว้รวมกับแมคของการตั้งค่าเครื่องพิมพ์ก็ได้

*** ระวัง!!! ถ้าเปิดใช้บรรทัดนี้ จะต้อง FIX IP ทั้งหมด และมีบรรทัด user + pass ทั้งหมด เพราะจะไม่มีหน้าล็อคอินอีกต่อไป เครื่องใหนลืมก็จะจอดำอย่างเดียวเลย


#[192.168.1.101]

#LDM_USERNAME = user1

#LDM_PASSWORD = password1

#---------------------


แล้วเพิ่มคำสั่งเพื่อเตรียมติดตั้งเครื่องพิมพ์ ตามเลข mac address ของเครื่องที่ต้องการ


ตัวอย่างนี้ ติดตั้งที่พอร์ทขนานเครื่องเดียว

[00:0C:29:66:4D:39] #local01

PRINTER_0_DEVICE=/dev/lp0 #พอร์ทเครื่องพิมพ์แบบเข็ม (พอร์ทขนาน)


ตัวอย่างนี้ ติดตั้งที่ยูเอสบีเครื่องเดียว

[00:0C:29:66:4D:39] #local01

PRINTER_0_DEVICE=/dev/usblp0 #พอร์ท USB


ตัวอย่างนี้ติดตั้ง 2 เครื่อง คนละพอร์ท

[00:0C:29:66:4D:39] #local01

PRINTER_0_DEVICE=/dev/lp0 #ใช้พอร์ท 9100

PRINTER_1_DEVICE=/dev/usblp0 #ใช้พอร์ท 9101


คำสั่งนี้ จะนำพอร์ทที่ระบุมาจากเครื่องลูก เพื่อมา Add Printer ที่เครื่องแม่ จากนั้นเครื่องลูกก็จะใช้เครื่องพิมพ์ที่ต่ออยู่ได้


การติดตั้งไดรฟ์เวอร์เครื่องพิมพ์ที่เครื่องแม่ กรณีที่เครื่องพิมพ์ต่ออยู่กับเครื่องลูก

- นำเครื่องพิมพ์มาลองต่อตรงกับเครื่องแม่ดูก่อน เพื่อดูว่า ลีนุกส์ตรวจพบว่าเป็นชื่ออะไร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับรุ่นจริงๆ แล้วลองพิมพ์ดูว่าออกเป็นปกติใหม เวลาแอดใหม่จะได้ได้ชื่อที่ถูกต้อง ไม่งั้นจะพบแต่พิมพ์ไม่ออก จากนั้นจึงนำไปต่อกับเครื่องลูกอีกที

- ที่เครื่องแม่ System/Administration/Printing/New/Printer

- กลุ่ม Network Printer เลือก AppSocket/HP JetDirect

- ช่อง Host พิมพ์ไอพีของเครื่องลูก ช่อง Port ปล่อยเป็น 9100 แล้วกด Forward

- เลือกยี่ห้อและรุ่นที่พบจากการต่อตรง จากนั้นตอบตกลงไปจนถึงหน้าสุดท้าย เป็นอันจบ


*** ถ้าต้องการแชร์ ต้องติดตั้ง SAMBA ด้วย

*** แก้ไขใน /etc/samba/smb.conf ในจุดต่อไปนี้ เพื่อให้การแชร์เครื่องพิมพ์ทำได้โดยสะดวก

security=share

encrypt passwords=no

.....

.....

[printers]

comment = All Printers

browseable = yes

path = /var/spool/samba

printable = yes

guest ok = yes

read only = yes

create mask = 0700


# Windows clients look for this share name as a source of downloadable

# printer drivers

[print$]

comment = Printer Drivers

path = /var/lib/samba/printers

browseable = yes

read only = yes

guest ok = yes


พิมพ์

ltsp-update-sshkeys

แล้วพิมพ์

ltsp-update-image

*** 2 คำสั่งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเลขไอพีต่างๆ ต้องสั่งทุกครั้ง คำสั่งที่ 2 จะใช้เวลาทำงานนานนิดนึง หลังจากสั่งแล้วก็รีเครื่อง 1 ครั้ง แต่ถ้าย้ายข้อมูลตามข้อ 11 ด้วยคำสั่ง cp /opt/ltsp/i386/etc/lts.conf /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf แล้ว ก็จะไม่ต้อง update-image ลองๆสังเกตเอานะครับ



Client

เครื่องลูกไม่ต้องทำอะไรมาก ขั้นแรก ถอดสายจ่ายไฟและสายสัญญาณออกจากฮาร์ดดิสก์ได้เลย


ปรับตั้งค่าลำดับการบูตในไบออส ให้เริ่มบูตด้วย LAN หรือ Network หากบอร์ดหรือการ์ดแลนที่มีอยู่รองรับ ก็จะมองเห็นการอ่านค่าจากเครื่องแม่ โดยปกติแล้ว หากไม่สามารถบูตจากแลนได้ ถ้าฮาร์ดดิสก์ยังต่ออยู่ ระบบจะกลับมาบูตที่ฮาร์ดดิสก์ให้เอง แต่บางบอร์ดก็อาจไม่เป็นแบบนี้ก็ได้


ถ้าการ์ดแลนที่มีอยู่ไม่รองรับ ก็สามารถตั้งค่าให้บูตจากซีดีรอม โดยไปนำไฟล์ ISO จากเว็บ

//rom-o-matic.net/

ที่ลิ้งก์

//rom-o-matic.net/gpxe/gpxe-git/gpxe.git/contrib/rom-o-matic/(หรืออื่นๆตามความเหมาะสม)

จากนั้นให้เบิร์นซีดีจาก ISO ที่ได้ เมื่อนำมาบูตเครื่อง จะมองเห็นขั้นตอนการบูตเหมือนกับการบูตด้วยการ์ดแลน จะสามารถทำงานในระบบได้เช่นเดียวกัน


บอร์ด P5RD1 กับ P5SD2 บูตแล้วค้างอยู่แค่โลโก้ลีนุกส์ ไปไม่ถึงหน้าล็อคอิน...



*** การเพิ่มหรือลบโปรแกรมต่างๆ ทำที่เครื่องแม่เพียงเครื่องเดียวพอ แล้วทั้งระบบจะเหมือนกันหมด และสามารถเข้าอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่องทันที

*** ชื่อ User เดียวกัน สามารถล็อคอินเครื่องลูกเครื่องใดก็ได้ และหากมีการปรับแต่งพื้นจอไว้เป็นส่วนตัว ก็จะได้พื้นจอแบบนั้นติดไปด้วย

*** User สามารถล็อคอินได้พร้อมๆกันที่เครื่องลูกคนละเครื่อง แต่จะเปิดไฟล์งานเดียวกันไม่ได้ หรืออาจจะได้ แต่จะมีการถามยืนยัน


ระบบปัจจุบันคือ ติดตั้ง ubuntu 9.04 server เป็น OS หลัก แล้วรัน VirtualBox อีก 3 ตัว ประกอบด้วย

- Endian Firewall เพื่อควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ต

- Ubuntu 9.07 PE+LTSP เพื่อทำงานในระบบ ThinClient

- WindowsXP รีโมทเข้ามาทำจากลีนุกส์ เพื่อใช้งาน MS-OFFICE ไปอีกสักระยะ กำลังอยู่ในขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนไปสู่ Openoffice


โปรแกรม gnome-rdp เตรียมไว้ให้ติดตั้งอีกตัว ก็คล้ายๆกับ Remote Desktop Viewer

 iTalc 

https://opensource.cc.psu.ac.th/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87_iTALC_%E0%B8%9A%E0%B8%99_Linux_Mint

Comments

Popular posts from this blog

Grub แก้ไขเวลาบูต Linux Mint 20.04

Ubuntu20.04 desktopสำหรับใช้งานทั่วไปและแบบTerminal Server

โปรแกรมที่ใช้งานใน Linux